เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร (400 )

ผู้รับโอน

1. ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธินิติกรรม (อ.1/4) จำนวน1ฉบับ ดาวน์โหลดเอกสารฟรี
2. หลักฐานการโอน เช่น สัญญาซื้อขายเครื่องจักร เป็นต้น หรือจะใช้แบบฟอร์มการโอน ซึ่งสำนักงานทะเบียนเครื่องจักร จัดทำขึ้นก็ได้
3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร (ร.2/1) ฉบับผู้ถือกรรมสิทธิ์
4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีตั้งตัวแทน) ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนา ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับโอน
6. กรณีผู้รับโอนเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท จะต้องมีหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ฉบับปีปัจจุบัน และออกให้ ไม่เกิน 3 เดือน โดยให้ปรากฎรายการจดทะเบียนในหนังสือ รับรองทุกรายการพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนา ทะเบียนบ้านของหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนาม
7. ใบอนุญาตแสดงที่ตั้งเครื่องจักร
8. กรณีโอนเครื่องจักรที่ติดภาระจำนองให้นำหนังสือสัญญาจำนองฉบับผู้จำนองและฉบับ ผู้รับจำนองมาด้วย พร้อมกับหนังสือยินยอมของผู้รับจำนองให้โอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ซึ่งติดจำนองอยู่ (DIW-07-AP-FG-15) จากผู้รับจำนองประกอบกับบันทึกของฝ่าย ผู้รับโอนกรณีติดจำนอง (DIW-07-AP-FG-16)
9. ในกรณีผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าของสถานที่ตั้งเครื่องจักรต้องมีหนังสือยินยอมให้ตั้งเครื่องจักร ภายในสถานประกอบการ(DIW-07-AP-FG-10) จากเจ้าของสถานที่ดังกล่าว
10. หนังสือรับรองการรับมอบเครื่องจักรของผู้รับโอน (DIW-07-AP-FG-11)
11. ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร เครื่องละ 100 บาท หรือถ้าจดทะเบียนหลายเครื่องในโรงงานหรือสถานที่เดียวกันและคราวเดียวกัน ไม่เกิน 2,000 บาท

การรับโอนเครื่องจักรทางมรดก

เครื่องจักรเป็นทรัพย์สินที่ตกทอดทางมรดกได้ เช่นเดียวกับทรัพย์สินอื่นเมื่อ เจ้าของเครื่องจักรถึงแก่กรรมเครื่องจักรย่อมเป็นมรดกทอดแก่ทายาทได้เป็นหน้าที่ ของทายาทจะต้องไปจดทะเบียนรับโอนต่อไปแต่จะต้องแสดงให้ได้ชัดเจนว่าตนเป็นทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกโดยจัด เตรียมเอกสารดังนี้
1. หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล
2. บัญชีทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกพร้อมคำรับรองจากผู้จัดการมรดกหรือบรรดาทายาท
3. กรณีทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกหลายคนทายาทจะตกลงถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หรือแบ่งให้คนใดคนหนึ่งก็แล้วแต่จะตกลงกันพร้อมแสดงเอกสารให้ชัดเจนเกี่ยวกับ
การแบ่งมรดก
4. ระบุชื่อทายาทผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับโอนเครื่องจักร
5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้เกี่ยวข้องในเอกสารทุกคน

การรับโอนโดยวิธีซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล

เครื่องจักรก็เป็นทรัพย์สินที่ตกอยู่ภายในการบังคับคดี เช่นเดียวกับทรัพย์สินอื่นเครื่องจักร อาจตกอยู่ในการบังคับคดีไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งธรรมดาหรือคดีล้มละลายก็ตามคำสั่งศาลโดย เจ้าพนักงานของศาล ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในคดีล้มละลายจะเป็นผู้ดำเนินการขายทอดตลาด ทรัพย์สินตาม คำสั่งศาลผู้ซื้อเครื่องจักร จากการขาย ทอดตลาดดังกล่าวได้ก็จะต้อง ไปทำการจดทะเบียน รับโอนเครื่องจักรโดย เจ้าพนักงานของศาลคือ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่กรณี จะทำหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนเครื่องจักร ให้ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ผู้ซื้อจากการ ขายทอดตลาดต่อไป

การรับโอนเพื่อชำระหนี้

การรับโอนเพื่อชำระหนี้ นอกจากต้องยื่นเอกสารในฐานะผู้รับโอนตามข้อ 1-10 แล้ว จะต้องมีบันทึกข้อตกลงของผู้โอนยินยอมโอนเครื่องจักร เพื่อชำระหนี้ด้วย

ผู้โอน

กรณีผู้โอนเป็นบุคคลธรรมดา
1. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้โอน
2. กรณีมีคู่สมรส จะต้องแสดงหนังสือยินยอมของคู่สมรส (DIW-07-AP-FG-07) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้ยินยอม
3. กรณีไม่มีคู่สมรส ให้ทำหนังสือรับรองการทำนิติกรรมด้วยตนเองตามลำพังตนเองได้ (DIW-07-AP-FG-08)พร้อมด้วย สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  และ สำเนาทะเบียนบ้าน ของของผู้ให้ความยินยอม
4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีตั้งตัวแทน) ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

กรณีผู้โอนเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท จำกัด

1. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท จำกัด ฉบับปีปัจจุบันออกให้ไม่เกิน 3 เดือน โดยระบุรายการจดทะเบียนทุกรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์จะต้องปรากฎว่าจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินได้
2. รายงานการประชุมเกี่ยวกับการโอนหรือขายเครื่องจักรหรือโอนเพื่อชำระหนี้ ฯลฯ
3. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีตั้งตัวแทน) ติดอากรแสตมป์ 30 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจลงนาม ทำการแทนนิติบุคคลนั้น